กระบวนการจัดการความรู้(Knowledge Management Process)
กระบวนการจัดการความรู้ (KM Process) เป็นกระบวนการแบบหนึ่งที่จะช่วยให้องค์กรเข้าใจถึงขั้นตอนที่ทำให้เกิดกระบวนการจัดการความรู้หรือพัฒนาการของความรู้ที่จะเกิดขึ้นภายในองค์กรซึ่งองค์กรจะต้องมองภาพรวมของปัจจัยแวดล้อมภายในองค์กรที่จะส่งผลกระทบต่อกระบวนการจัดการความรู้ขององค์กร
ขั้นตอน (Process) | คำอธิบาย |
1. การบ่งชี้ความรู้ (Knowledge Identification) | -เป็นการพิจารณาองค์ความรู้ที่จำเป็นต่อการบรรลุวิสัยทัศน์/พันธกิจ/เป้าหมายขององค์กร และพิจารณาว่าองค์กรมีองค์ความรู้นี้หรือยัง อยู่ในรูปแบบใด หรืออยู่ที่บุคคลใด |
2. การสร้างและแสวงหาความรู้(Knowledge Creation and Acquisition) | -เป็นการสร้างองค์ความรู้ใหม่ หรือแสวงหาความรู้จากภายนอก หากองค์ความรู้ที่จำเป็นต่อองค์กรนั้นยังไม่มีหรือมีไม่เพียงพอ รวมถึงการรักษาความรู้เก่า และการกำจัดความรู้ที่ใช้ไม่ได้แล้ว |
3. การจัดความรู้ให้เป็นระบบ(Knowledge Organization) | -เป็นการวางโครงสร้างความรู้ เพื่อเตรียมพร้อมสำหรับการเก็บความรู้อย่างเป็นระบบในอนาคต |
4. การประมวลและกลั่นกรองความรู้(Knowledge Codification and Refinement) | -เป็นการปรับปรุงรูปแบบ เนื้อหาเอกสารหรือองค์ความรู้ให้เป็นสมบูรณ์ มีมาตรฐาน และใช้ภาษาเดียวกัน |
5. การเข้าถึงความรู้ (Knowledge Access) | -เป็นการทำให้ผู้ใช้ความรู้สามารถเข้าถึงองค์ความรู้ที่ต้องการได้ง่ายสะดวก โดยอาจใช้ระบบเทคโนโลยีสารสนเทศ (IT), Web board หรือบอร์ดประชาสัมพันธ์มาช่วยเพื่ออำนวยความสะดวก |
6. การแบ่งปันแลกเปลี่ยนเรียนรู้(Knowledge Sharing) | ทำได้หลายวิธีการ -กรณีเป็นความรู้ที่ชัดแจ้งอาจจัดทำเป็น เอกสาร, ฐานความรู้, หรือเทคโนโลยีสารสนเทศ เป็นต้น -กรณีเป็นความรู้ที่ฝังลึกในบุคคล อาจจัดทำเป็นระบบ ทีมข้ามสายงาน (Cross-functional Team), กิจกรรมกลุ่มคุณภาพและนวัตกรรม (Innovation & Quality Circles : IQCs), ชุมชนแห่งการเรียนรู้ หรือ ชุมชนนักปฏิบัติ (Communities of Practice : Cop), ระบบพี่เลี้ยง (Mentoring System), การสับเปลี่ยนงาน (Job Rotation), การยืมตัวบุคลากรมาช่วยงาน, หรือเวทีแลกเปลี่ยนความรู้ (Knowledge Forum) เป็นต้น |
7. การเรียนรู้ (Learning) | -เป็นการนำความรู้ไปใช้ประโยชน์ในการตัดสินใจ แก้ปัญหาและปรับปรุ'องค์กร |
(ที่มา:http://www.phar.ubu.ac.th/km/?p=197)
Boat Model
C คือ Culture (วัฒนธรรม)
A คือ Achievement (ความสำเร็จ)
P คือ Process (กระบวนการ)
T คือ Technology (เทคโนโลยี)
I คือ Interaction (ปฏิสัมพันธ์)
N คือ Note (จดบันทึก)
A คือ Achievement (ความสำเร็จ)
P คือ Process (กระบวนการ)
T คือ Technology (เทคโนโลยี)
I คือ Interaction (ปฏิสัมพันธ์)
N คือ Note (จดบันทึก)
(ที่มา: อ.ดร. สมชาย เทพแสง)
เปรียบ แสวงหาความรู้เป็นราก ที่เสาะแหวงหาแร่ธาตุที่จำเป็นต่อการเจริญเติบของต้นข้าว
เปรียบ การรวบรวมข้อมูลเป็นลำต้น ที่ใช้ในลำเลียงอาหารและแร่ธาตุต่างๆไปเลี้ยงลำต้น
เปรียบ แลกเปลี่ยนความรู้เป็นใบ ที่ใช้ในการสังเคราะห์แสงเพื่อให้ได้พลังงานไปเลี้ยงลำต้น
เปรียบ การจัดเก็บข้อมูลเป็นรวงข้าว นำความรู้จากการแลกเปลี่ยนมาจัดเก็บอย่างเป็นระบบ
เปรียบ การเรียนรู้เป็นเมล็ดข้าวนำความที่ได้ไปใช้ประโยชน์ในด้านต่างๆ
เปรียบ แสวงหาความรู้เป็นราก ที่เสาะแหวงหาแร่ธาตุที่จำเป็นต่อการเจริญเติบของต้นข้าว
เปรียบ การรวบรวมข้อมูลเป็นลำต้น ที่ใช้ในลำเลียงอาหารและแร่ธาตุต่างๆไปเลี้ยงลำต้น
เปรียบ แลกเปลี่ยนความรู้เป็นใบ ที่ใช้ในการสังเคราะห์แสงเพื่อให้ได้พลังงานไปเลี้ยงลำต้น
เปรียบ การจัดเก็บข้อมูลเป็นรวงข้าว นำความรู้จากการแลกเปลี่ยนมาจัดเก็บอย่างเป็นระบบ
เปรียบ การเรียนรู้เป็นเมล็ดข้าวนำความที่ได้ไปใช้ประโยชน์ในด้านต่างๆ
โดย นายวีระชัย จิบทอง 51102010778
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น