วันจันทร์ที่ 3 ตุลาคม พ.ศ. 2554





การจัดการความรู้
(Knowledge Management-KM)

 




              การจัดการความรู้ หรือที่เรียกย่อๆ ว่า KM คือ เครื่องมือ เพื่อใช้ในการบรรลุเป้าหมายอย่างน้อย 3 ประการไปพร้อมๆ กัน ได้แก่ บรรลุเป้าหมายของงาน บรรลุเป้าหมายการพัฒนาคน และบรรลุเป้าหมายการพัฒนาองค์กรไปสู่การเป็นองค์กรแห่งการเรียนรู้
              ดังนั้นการจัดการความรู้จึงไม่ใช่เป้าหมายในตัวของมันเอง เมื่อไรก็ตามที่มีการเข้าใจผิด เอาการจัดการความรู้เป็นเป้าหมาย ความผิดพลาดก็เริ่มเดินเข้ามา อันตรายที่จะเกิดตามมาคือ การจัดการความรู้เทียม หรือ ปลอม เป็นการดำเนินการเพียงเพื่อให้ได้ชื่อว่ามีการจัดการความรู้เท่านั้นเอง

ประเภทความรู้ ความรู้แบ่งใหญ่ๆ ได้ ๒ ประเภท
           ๑. ความรู้เด่นชัด (Explicit Knowledge) เป็นความรู้ที่อยู่ในรูปแบบที่เป็นเอกสาร หรือ วิชาการ อยู่ในตำรา คู่มือปฏิบัติงาน
           ๒. ความรู้ซ่อนเร้น (Tacit Knowledge) เป็นความรู้ที่แฝงอยู่ในตัวคน เป็นประสบการณ์ที่สั่งสมมายาวนาน เป็นภูมิปัญญา. ความรู้เด่นชัด (Explicit Knowledge) เป็นความรู้ที่อยู่ในรูปแบบที่เป็นเอกสาร หรือ วิชาการ อยู่ในตำรา คู่มือปฏิบัติงาน

                                (ทีมา:http://www.bb.go.th/BBKM/public/aboutKM/Article/startkm.pdf)

                                                                            
                                                                                                 
วงจรการจัดการความรู้
              1. ความรู้ (Knowledge) หมายถึง การเรียนรู้ที่เน้นถึงการจำและการระลึกได้ถึงความคิด วัตถุ และปรากฏการณ์ต่าง ๆ ซึ่งเป็นความจำที่เริ่มจากสิ่งง่าย ๆ ที่เป็นอิสระแก่กัน ไปจนถึงความจำในสิ่งที่ยุ่งยากซับซ้อนและมีความสัมพันธ์ระหว่างกัน
              2. ความเข้าใจหรือความคิดรวบยอด (Comprehension) เป็นความสามารถทางสติปัญญาในการขยายความรู้ ความจำ ให้กว้างออกไปจากเดิมอย่างสมเหตุสมผล การแสดงพฤติกรรมเมื่อเผชิญกับสื่อความหมาย และความสามารถในการแปลความหมาย การสรุปหรือการขยายความสิ่งใดสิ่งหนึ่ง
             3. การนำไปปรับใช้ (Application) เป็นความสามารถในการนำความรู้ (knowledge) ความเข้าใจหรือความคิดรวบยอด (comprehension) ในเรื่องใด ๆ ที่มีอยู่เดิม ไปแก้ไขปัญหาที่แปลกใหม่ของเรื่องนั้น โดยการใช้ความรู้ต่าง ๆ โดยเฉพาะอย่างยิ่งวิธีการกับความคิดรวบยอดมาผสมผสานกับความสามารถในการแปลความหมาย การสรุปหรือการขยายความสิ่งนั้น
             4. การวิเคราะห์ (Analysis) เป็นความสามารถและทักษะที่สูงกว่าความเข้าใจ และการนำไปปรับใช้ โดยมีลักษณะเป็นการแยกแยะสิ่งที่จะพิจารณาออกเป็นส่วนย่อย ที่มีความสัมพันธ์กัน รวมทั้งการสืบค้นความสัมพันธ์ของส่วนต่าง ๆ เพื่อดูว่าส่วนประกอบปลีกย่อยนั้นสามารถเข้ากันได้หรือไม่ อันจะช่วยให้เกิดความเข้าใจต่อสิ่งหนึ่งสิ่งใดอย่างแท้จริง
             5. การสังเคราะห์ (Synthesis) เป็นความสามารถในการรวบรวมส่วนประกอบย่อย ๆ หรือส่วนใหญ่ ๆ เข้าด้วยกันเพื่อให้เป็นเรื่องราวอันหนึ่งอันเดียวกัน การสังเคราะห์จะมีลักษณะของการเป็นกระบวนการรวบรวมเนื้อหาสาระของเรื่องต่าง ๆ เข้าไว้ด้วยกัน เพื่อสร้างรูปแบบหรือโครงสร้างที่ยังไม่ชัดเจนขึ้นมาก่อน อันเป็นกระบวนการที่ต้องอาศัยความคิดสร้างสรรค์ภายในขอบเขตของสิ่งที่กำหนดให้
             6. การประเมินผล (Evaluation) เป็นความสามารถในการตัดสินเกี่ยวกับความคิด ค่านิยม ผลงาน คำตอบ วิธีการและเนื้อหาสาระเพื่อวัตถุประสงค์บางอย่าง โดยมีการกำหนดเกณฑ์ (criteria) เป็นฐานในการพิจารณาตัดสิน การประเมินผล จัดได้ว่าเป็นขั้นตอนที่สูงสุดของพุทธิลักษณะ (characteristics of cognitive domain) ที่ต้องใช้ความรู้ความเข้าใจ การนำไปปรับใช้ การวิเคราะห์และการสังเคราะห์เข้ามาพิจารณาประกอบกันเพื่อทำการประเมินผลสิ่งหนึ่งสิ่งใด

                                                (ที่มา:http://www.gotoknow.org/file/preaw_phoo/view/439869)

กระบวนการจัดการความรู้(Knowledge Management Process)

           กระบวนการจัดการความรู้ (KM Process) เป็นกระบวนการแบบหนึ่งที่จะช่วยให้องค์กรเข้าใจถึงขั้นตอนที่ทำให้เกิดกระบวนการจัดการความรู้หรือพัฒนาการของความรู้ที่จะเกิดขึ้นภายในองค์กรซึ่งองค์กรจะต้องมองภาพรวมของปัจจัยแวดล้อมภายในองค์กรที่จะส่งผลกระทบต่อกระบวนการจัดการความรู้ขององค์กร       

              ขั้นตอน (Process)                  คำอธิบาย
1. การบ่งชี้ความรู้ (Knowledge Identification)-เป็นการพิจารณาองค์ความรู้ที่จำเป็นต่อการบรรลุวิสัยทัศน์/พันธกิจ/เป้าหมายขององค์กร และพิจารณาว่าองค์กรมีองค์ความรู้นี้หรือยัง อยู่ในรูปแบบใด หรืออยู่ที่บุคคลใด
2. การสร้างและแสวงหาความรู้(Knowledge Creation and Acquisition)-เป็นการสร้างองค์ความรู้ใหม่ หรือแสวงหาความรู้จากภายนอก หากองค์ความรู้ที่จำเป็นต่อองค์กรนั้นยังไม่มีหรือมีไม่เพียงพอ รวมถึงการรักษาความรู้เก่า และการกำจัดความรู้ที่ใช้ไม่ได้แล้ว
3. การจัดความรู้ให้เป็นระบบ(Knowledge Organization)-เป็นการวางโครงสร้างความรู้ เพื่อเตรียมพร้อมสำหรับการเก็บความรู้อย่างเป็นระบบในอนาคต
4. การประมวลและกลั่นกรองความรู้(Knowledge Codification and Refinement)-เป็นการปรับปรุงรูปแบบ เนื้อหาเอกสารหรือองค์ความรู้ให้เป็นสมบูรณ์ มีมาตรฐาน และใช้ภาษาเดียวกัน
5. การเข้าถึงความรู้ (Knowledge Access)-เป็นการทำให้ผู้ใช้ความรู้สามารถเข้าถึงองค์ความรู้ที่ต้องการได้ง่ายสะดวก โดยอาจใช้ระบบเทคโนโลยีสารสนเทศ (IT), Web board หรือบอร์ดประชาสัมพันธ์มาช่วยเพื่ออำนวยความสะดวก
6. การแบ่งปันแลกเปลี่ยนเรียนรู้(Knowledge Sharing)ทำได้หลายวิธีการ
-กรณีเป็นความรู้ที่ชัดแจ้งอาจจัดทำเป็น เอกสาร, ฐานความรู้, หรือเทคโนโลยีสารสนเทศ เป็นต้น
-กรณีเป็นความรู้ที่ฝังลึกในบุคคล อาจจัดทำเป็นระบบ ทีมข้ามสายงาน (Cross-functional Team), กิจกรรมกลุ่มคุณภาพและนวัตกรรม (Innovation & Quality Circles : IQCs), ชุมชนแห่งการเรียนรู้ หรือ ชุมชนนักปฏิบัติ (Communities of Practice : Cop), ระบบพี่เลี้ยง (Mentoring System), การสับเปลี่ยนงาน (Job Rotation), การยืมตัวบุคลากรมาช่วยงาน, หรือเวทีแลกเปลี่ยนความรู้ (Knowledge Forum) เป็นต้น
7. การเรียนรู้ (Learning)
 -เป็นการนำความรู้ไปใช้ประโยชน์ในการตัดสินใจ  แก้ปัญหาและปรับปรุ'องค์กร

                                                    (ที่มา:http://www.phar.ubu.ac.th/km/?p=197)


                             
                              Boat Model



                              C    คือ    Culture (วัฒนธรรม)

                              A    คือ    Achievement (ความสำเร็จ)

                              P    คือ   Process (กระบวนการ)

                             T     คือ   Technology (เทคโนโลยี)

                             I      คือ   Interaction (ปฏิสัมพันธ์)

                             N     คือ   Note (จดบันทึก)
                                                                                                              
                                                                                                      
                                                                                                         (ที่มา: อ.ดร. สมชาย เทพแสง)




          

                  เปรียบ แสวงหาความรู้เป็นราก ที่เสาะแหวงหาแร่ธาตุที่จำเป็นต่อการเจริญเติบของต้นข้าว
                  เปรียบ การรวบรวมข้อมูลเป็นลำต้น ที่ใช้ในลำเลียงอาหารและแร่ธาตุต่างๆไปเลี้ยงลำต้น
                  เปรียบ แลกเปลี่ยนความรู้เป็นใบ ที่ใช้ในการสังเคราะห์แสงเพื่อให้ได้พลังงานไปเลี้ยงลำต้น
                 เปรียบ การจัดเก็บข้อมูลเป็นรวงข้าว นำความรู้จากการแลกเปลี่ยนมาจัดเก็บอย่างเป็นระบบ
                 เปรียบ การเรียนรู้เป็นเมล็ดข้าวนำความที่ได้ไปใช้ประโยชน์ในด้านต่างๆ
                                                                                                           
                                                                                                    โดย นายวีระชัย   จิบทอง 51102010778




ยุทธศาสตร์การจัดการความรู้
             ยุทธศาสตร์การจัดการความรู้ ช่วยให้การดำเนินการจัดการความรู้ไม่เปะปะ เหวี่ยงแห ไม่เกิดสภาพที่มีการลงทุนลงแรง อย่างมากมาย แต่ได้ผลน้อย หรือไม่สร้างความเจริญก้าวหน้าให้แก่องค์กร ไม่สร้างขีดความสามารถในการแข่งขันให้แก่องค์กร

ตัวอย่างยุทธศาสตร์ยุทธศาสตร์ 6 กลุ่ม ของ APQC
APQC ย่อมาจาก American Productivity and Quality Center ได้กำหนดยุทธศาสตร์ในการทำ การจัดการความรู้ไว้ 6 ประการคือ
1. ยุทธศาสตร์การจัดการความรู้ทั่วทั้งองค์กร
2. ยุทธศาสตร์ถ่ายทอดความรู้และวิธีปฏิบัติที่ดีที่สุด (best practice)
3. ยุทธศาสตร์ความรู้เกี่ยวกับลูกค้า
4. ยุทธศาสตร์ปัจเจกบุคคล
5. ยุทธศาสตร์จัดการสินทรัพย์ทางปัญญา (intellectual asset)
6. ยุทธศาสตร์สร้างความรู้และนวัตกรรม




          ในเรื่องของการจัดการความรู้นั้น มีงานวิจัยจำนวนมากที่พยายามอธิบายความสัมพันธ์และบทบาทของเทคโนโลยีสารสนเทศกับการจัดการความรู้ ดังที่ปรากฏว่าเป็นเรื่องราวจำนวนมากที่แสดงถึงความสำเร็จในการจัดการความรู้ขององค์กรผ่านการใช้ระบบเทคโนโลยีสารสนเทศ แม้ว่าการจัดการความรู้จะเป็นกระบวนการไม่ใช่เทคโนโลยีแต่เทคโนโลยีกลับถูกคาดหมายว่าเป็นปัจจัยแห่งความสำคัญอย่างหนึ่งที่จะช่วยให้การจัดการความรู้ประสบความสำเร็จ องค์กรส่วนใหญ่จึงมีการจัดสรรงบประมาณในการนำเทคโนโลยีที่เหมาะสมมีผลต่อความสำเร็จในระบบการจัดการความรู้เข้ามาเป็นเครื่องมือช่วยในการจัดการความรู้ทั้งในส่วนของพนักงานและองค์กรเทคโนโลยีสารสนเทศที่เกี่ยวข้องและมีบทบาทในการจัดการความรู้ประกอบด้วยเทคโนโลยีการสื่อสาร(Communication Technology) เทคโนโลยีการทำงานร่วมกัน (Collaboration Technology) และเทคโนโลยีการจัดเก็บ (Storage technology)
           · เทคโนโลยีการสื่อสาร ช่วยให้บุคลากรสามารถเข้าถึงความรู้ต่างๆ ได้ง่ายขึ้น สะดวกขึ้น รวมทั้งสามารถติดต่อสื่อสารกับผู้เชี่ยวชาญในสาขาต่างๆ ค้นหาข้อมูล สารสนเทศและความรู้ที่ต้องการได้ผ่านทางเครือข่ายอินทราเน็ต เอ็กซ์ตราเน็ตหรืออินเทอร์เน็ต
          · เทคโนโลยีสนับสนุนการทำงานร่วมกัน ช่วยให้สามารถประสานการทำงานได้อย่างมีประสิทธิภาพ ลดอุปสรรคในเรื่องของระยะทาง ตัวอย่างเช่นโปรแกรมกลุ่ม groupware ต่างๆ หรือระบบ Screen Sharing เป็นต้น
           · เทคโนโลยีในการจัดเก็บ ช่วยในการจัดเก็บและจัดการความรู้ต่างๆ
จะเห็นได้ว่าเทคโนโลยีที่นำมาใช้ในการจัดการความรู้ขององค์กรนั้นประกอบด้วยเทคโนโลยีที่สามารถครอบคลุมกระบวนการต่างๆ ในการจัดการความรู้ให้ได้มากที่สุดเท่าที่เป็นไปได้เช่นมีระบบฐานข้อมูลและระบบการสื่อสารที่ช่วยในการสร้าง ค้นหา แลกเปลี่ยน จัดเก็บความรู้ อย่างไรก็ตามในปัจจุบันมีซอฟต์แวร์ที่เกี่ยวข้องกับการจัดการความรู้โดยเฉพาะที่เรียกว่า Know-ware เช่น ระบบ Electronic document management หรือEnterprise knowledge portal
 
 


  แนะนำหนังสือดีๆ

   


 


ชื่อเรื่อง “ศาสตร์การสอน”
ผู้แต่ง........ทิศนา แขมมณี
                เนื้อหาโดยสังเขปนำเสนอเนื้อหาที่สำคัญเกี่ยวกับ "ศาสตร์การสอน" ครอบคลุมองค์ความรู้ที่เป็นพื้นฐานสำคัญสำหรับการวางแผนและออกแบบการเรียน การสอน ไม่ว่าจะเป็นวิวัฒนาการของแนวคิดทีเกี่ยวกับการสอน บริบททางการสอน ปรัชญาการศึกษา ทฤษฎี หลักการ แนวคิดเกี่ยวกับการเรียนรู้และการสอนตั้งแต่อดีตมาจนปัจจุบัน ทั้งที่เป็นสากลและที่เป็นของไทย ประมวลระบบรูปแบบการสอนและวิธีการสอนที่หลากหลาย รวมทั้งเทคนิคและทักษะการสอนนวัตกรรม และงานวิจัยทางการสอน ทั้งที่ผู้เขียนได้คัดสรรและกลั่นกรองสาระให้ได้ประเด็นที่เป็นแก่นสำคัญ เพื่อช่วยให้ผู้อ่านได้ความคิดรวบยอด และเกิดความเข้าใจที่กระจ่างขึ้น รวมทั้งได้วิเคราะห์ประเด็นปัญหาต่างๆ ที่มักเกิดขึ้นในทางปฏิบัติและนำเสนอแนวคิดแนวทางในการป้องกันหรือแก้ปัญหา นั้นๆ นอกจากนี้ยังมีบรรณานุกรมท้ายเล่มให้ได้ค้นหาข้อมูลเพิ่มเติมได้อีกด้วย





ชื่อเรื่อง “ความคิดสร้างสรรค์กับการเรียนรู้”
ผู้แต่ง...... ศ.ดร. อารี พันธ์มณี
             หนังสือเล่มนี้ กล่าวถึงพื้นฐานที่สำคัญในการส่งเสริมความคิดสร้างสรรค์ เช่น การตอบสนองความต้องการคิดสร้างสรรค์ของผู้เรียน การสร้างทักษะเชิงสร้างสรรค์ การคาดหวังในสิ่งที่สูงขึ้นและลึกซึ้งขึ้น เป็นต้น ซึ่งถือว่าเป็นประโยชน์กับครูผู้สอนเป็นอย่างมาก เพราะหนังสือเล่มนี้มีจุดมุ่งหมายเพื่อมุ่งเน้นและแสดงให้เห็นกระบวนการและกิจกรรมการส่งเสริมความคิดสร้างสรรค์โดยเฉพาะในห้องเรียนหรือการเรียนการสอน เพราะเมื่ออ่านแล้วครูอาจจะนำไปใช้กับนักเรียนได้




เรื่อง “เสริมสร้างการรู้ค่าตน...ในห้องเรียน”
ผู้แต่ง ลอว์เรนซ์, เดนิส Denis Lawrence
                หนังสือเรื่อง "เสริมสร้างการรู้ค่าตน...ในห้องเรียน" เล่มนี้ แปลจากหนังสือฉบับภาษาอังกฤษเรื่อง Enhancing self-esteem in the classroom มีเนื้อหาให้ความรู้และแนวคิดในการส่งเสริมนักเรียนให้เห็นคุณค่าของตนเอง เพราะการที่ผู้เรียนยอมรับนับถือตนเองว่ามีความสามารถ มีคุณค่า ย่อมส่งผลสัมฤทธิ์ทั้งในด้านวิชาการ อารมณ์ และสังคม ตลอดจนมีพลังใจและแรงจูงใจต่อประสิทธิผลการเรียนรู้ กระตือรือร้นเมื่อได้รับส่งท้าทายใหม่ๆ มีความเชื่อมั่นในตนเอง มีปัญหาทางพฤติกรรมน้อย และสามารถแก้ปัญหาด้านการเรียนรู้ได้อย่างมีประสิทธิภาพ




เรื่องที่ 5 “การสอนเพื่อปัญญาแห่งความสำเร็จ”
ผู้แต่ง สเติร์นเบิร์ก, โรเบิร์ต Robert J. Sternberg/ Elena L. Grigorenko
                 เป็นหนังสือที่กล่าวถึงการนำทักษะ 3 ทักษะ คือ ทักษะการวิเคราะห์ สร้างสรรค์ และปฏิบัติมาใช้ในการพัฒนาการเรียนการสอนเพื่อเพิ่มประสิทธิภาพและเพิ่มพูนผลการเรียนรู้ของ นักเรียน มีบทเรียน พร้อมใช้คำแนะนำประกอบการใช้ และกิจกรรมสำหรับครู อาจกล่าวได้ว่าหนังสือเล่มนี้ คือ แผนที่นำทางที่ครูสามารถใช้นำนักเรียนไปสู่ความสำเร็จได้

กิจกรรม KM DAY
งานวันการจัดการความรู้ คณะศึกษาศาสตร์
10 กันยายน 2554


ภาพบอร์ดนิทรรศการโรงเรียน

ภาพการนำเสนอเกี่ยวกับโรงเรียน

กานำเสอนแฟ้มงานของบุคลากรในโรงเรียน
การเข้าเยี่ยมชมนิทรรศการ

ภาพแสดงการจัดกิจกรรมในถานศึกษา